จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ข้อสอบโอเน็ต วิชาคอมพิวเตอร์

1. ข้อใด คือความหมายของคอมพิวเตอร์ก.  กลุ่มคำสั่งหรือชุดคำสั่งข.  ค่าต่างๆที่ใช้ร่วมกับคำสั่งค.  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่รับส่งข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลข้อมูลง.  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีการรับส่งข้อมูลทั้งในรูปแบบของ Digital และ Analog

2. ข้อใด คือความหมายของข้อมูลก.   ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เราสนใจข.  ค่าต่างๆที่ใช้ร่วมกับคำสั่งค.  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่รับส่งข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลข้อมูลง.  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีการรับส่งข้อมูลทั้งในรูปแบบของ Digital และ Analog3. ข้อใด คือความหมายของฮาร์ดแวร์ก.  กลุ่มคำสั่งหรือชุดคำสั่งข.  ค่าต่างๆที่ใช้ร่วมกับคำสั่งค.  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่รับส่งข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลข้อมูลง.  อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์4. ข้อใด คือความหมายของโปรแกรมก.  กลุ่มคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานข.  ค่าต่างๆที่ใช้ร่วมกับคำสั่งค.  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่รับส่งข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลข้อมูลง.  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีการรับส่งข้อมูลทั้งในรูปแบบของ Digital และ Analog

5.
ไฟล์ที่ถูกบีบอัดด้วยโปรแกรม WinZip จะมีส่วนขยายหรือนามสกุลไฟล์ตามข้อใด
ก.docข. .zipค.com ง.. txt6. ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการที่อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะไม่จำกัดผู้ใช้  ปัญหาดังกล่าวคือ     
 
ก. อาจมีผู้บุกรุก เข้าทำลายระบบคอมพิวเตอร์ข. ความปลอดภัยของข้อมูลค. ลิขสิทธิ์ง. ถูกทุกข้อ7.ข้อใดเลือกใช้โปรแกรมทางอินเตอร์เน็ตได้เหมาะสมกับงานก.ส่งข้อความหาเพื่อนด้วย FTPข.อ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย Bit Torrentค.แสดงไฟล์สกุล html ด้วย web browserง.สั่งงานคอมพิวเตอร์ที่ไกลด้วย instant messaging8.ข้อใดกล่วถึง ซอฟต์แวร์ ไม่ถูกต้อง   ก.ซอฟต์แวร์ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่คอยสั่งให้คอมทำงานได้   ข.ซอฟต์แวร์  คือ บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น ผู้ใช้โปรแกรม นักเขียนโปรแกรม   ค. ซอฟต์แวร์  คือ ชุดคำสั่งหรือโกรแกรมที่สร้างขึ้นโดยนักเขียนโปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน   ง.ตัวอย่างซอฟต์แวร์  เช่น โปรแกรมพิมพ์งาน โปรแกรมดูหนัง โปรแกรมป้องกันไวรัส 9.ซอฟต์แวร์ เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆได้แก่อะไรบ้าง   ก.ซอฟต์แวร์ ระบบ กับ ซอฟต์แวร์ ประยุกต์   ข.ซอฟต์แวร์ ระบบปฎิบัติการ กับ ซอฟต์แวร์ ประยุกต์ทั่วไป   ค.โปรแกรมแปลภาษา  กับ  โปรแกรมอรรถประโยชน์   ง.ฮาร์แวร์  กับ  พีเพิลแวร์10.ข้้อใดต่อไปนี้เป็นซอฟต์แวร์ทั้งหมด  ก.Ms-Word / Ms-Excel / CPU  ข.Ms-Excel / CPU / Input Unit  ค. เกมส์คอมพิวเตอร์/Ms-waord/WinAmง.Power DVD / แป้งพิมพ์ / จอภาพ
ที่มา :http://pontipmay.blogspot.com/2012/02/o-net.html




คำสั่ง SQL


คำสั่ง SQL เบื้องต้น
ก่อนอื่นต้องบอกเลยครับว่ามันไม่ได้ดีมากนักสำหรับหน้าเวปนี้เพราะผมอ่านหนังสือและสรุปอย่างคร่าวๆ แล้วรูปแบบมันอาจจะเพี้ยนๆ เพราะผมเขียนใน PAGE แล้วเอา COPY and PASTE ลงเล้ย แบบไม่แก้ไขอันใด tab มั่วไปหมด ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยครับ

ภาษา SQL นั้นไม่เป็น case sensitive (ตัวเล็ก ตัวใหญ่มีค่าเท่ากัน) และในแต่ละคำสั่งจะถูกปิดด้วย ; (semi-colon)

(วิธีการลง SQL ใน Window7 : http://natsusencho.blogspot.com/2012/07/mysql-window7.html)

มาเริ่มกันเลย
การเข้าใช้ให้เราเปิด cmd ขึ้นมาและ
$ mysql -u root -p
จากนั้นใส่ password ลงไป
จะเข้าสู่การใช้

mysql > (เราจะพิมพ์คำสั่งต่างๆลงไป)

ถ้าต้องการออกใช้
mysql > quit
mysql > show databases;  แสดง  databases ทั้งหมดที่เราสร้างขึ้น

mysql > use <ชื่อ database> เป็นการเข้าใช้ database นั้นๆ
mysql > SELECT database(); ดู database ที่เรากำลังใช้อยู่
mysql > show tables;  แสดงตารางทั้งหมดที่เราสร้างขึ้นใน database ที่ use

สร้าง DATABASE
mysql > create database  <ชื่อdatabase>;
 เช่น create database world;


สร้าง table
mysql > create table <ชื่อtable> (<ชื่อข้อมูล> <ชนิดข้อมูล>, ... );
 เช่น create table human (name VARCHAR(20), birth DATE, sex CHAR(1));
ชนิดข้อมูล เช่น
 VARCHAR(n) - ข้อมูลชนิด string เก็บแบบ linked list เหมาะสมกับข้อมูลที่มีความยาวที่ไม่แน่นอน
 CHAR(n) - ข้อมูลชนิด string เก็บแบบ array เหมาะสมกับข้อมูลที่มีความยาวที่แน่นอน
 INT - จำนวนเต็ม
 DATE - ข้อมูลชนิดพิเศษของ SQL ใช้เก็บวันที่ มีรูปแบบเป็น YYYY-MM-DD

ดูชื่อและชนิดข้อมูลของแต่ละตาราง
mysql > describe <ชื่อtable>;
การใส่ข้อมูลลงไปใน table
1. ใช้คำสั่ง load data จากไฟล์ที่เราเตรียมไว้ โดย default จะแบ่งเนื้อหาโดยใช้ tab แบบนี้จะมีปัญหาเรื่องการใช้ข้อมูลชนิด NULL ซึ่งใช้ \N แทน
 mysql > load data local infile ‘natsu.txt’ into table pet;

2.INSERT ใส่ทีละข้อมูล เหมาะกับข้อมูลที่น้อยๆ ที่เราเพิ่มเติมเข้าไป เช่น
 mysql > INSERT INTO pet VALUES (‘natsusencho’, ‘1992-03-25’, ‘M’);

3. *ทำ SQL script คือเตรียมไฟล์คำสั่ง sql ไว้แล้วนำมาทำการ source ทีเดวเช่น
ส่วนตัวแนะนำวิธีนี้เพราะเราเขียนทั้งหมดทีเดียวไม่ต้องมาใส่ทีละคำสั่ง นึกออกให้เสร็จที่เดียวแล้ว run ทีเดียวทั้งหมด
  ---- file natsu.sql ----
 CREATE TABLE IF NOT EXISTS human (
        name   VARCHAR(20),
        birth DATE,
  sex CHAR(1) );
 INSERT INTO human VALUES
       ( 'NatsuSencho',   '1992-03-25', 'M'),
       ( 'Slime',   '1999-03-03', NULL ),
   ( ‘HeyFemale’ , ‘1993-12-25’ , ‘F’);
 ----- file natsu.sql -----
 หลังจากสร้างเสร็จแล้วก้ลองใช้คำสั่ง
 mysql > source natsu.sql;
 ก็จะได้ตาราง world หน้าที่มีข้อมูล 3 ตัว
 create table IF NOT EXISTS human
 คำว่า IF NOT EXISTS หมายถึงการสร้าง table นี้ถ้ายังไม่มี table นี้ ถ้ามีแล้วก็ไม่ต้องสร้าง
มีสร้างก็ต้องมีลบ การลบ table ใช้คำสั่ง
 mysql > DELETE FROM <ชื่อtable>;

หลังจากที่สร้างเป็นแล้วต้องสามารถแก้ไขข้อมูลได้
 mysql > UPDATE <ชื่อtable>
  SET <ชื่อข้อมูล> = <ข้อมูลใหม่>
  WHERE <เงื่อนไขอื่นๆ>;
 เช่น UPDATE human SET name = ‘HeyGirl’ WHERE name = ‘HeyFemale’;
การสืบค้นข้อมูล หรือการดูข้อมูล
 SELECT <สิ่งที่ต้องการ>
 FROM   <ชื่อtable>
 WHERE <เงื่อนไขอื่นๆ>
เช่นต้องการชื่อของข้อมูลในตาราง human ที่มีมีเพศชาย
 SELECT name
 FROM   human
 WHERE sex = ‘M’;
ต้องการดูข้อมูลทั้งหมดในตาราง human [* คือทั้งหมด]
 SELECT *
 FROM   human;
ซึ่งการกำหนดเงื่อนไขนั้นเราสามารถใช้ตัวแปรทางคณิตศาสตร์ตรรกะ มาช่วยได้เช่น
 AND และ
 OR หรือ
 < น้อยกว่า
 > มากกว่า
 <= น้อยกว่าหรือเท่ากับ
 >= มากกว่าหรือเท่ากับ
 <> ไม่เท่ากับ
 UNION การนำ 2 ตารางมาเชื่อมต่อกันตัดตัวซ้ำ
 UNION ALL การนำ 2 ตารางมาเชื่อมกันโดยไม่ตัดตัวซ้ำ
 INTERSECT ข้อมูลที่ซ้ำกัน
DISTINCT คือการตัดตัวที่ซ้ำกันออก
เช่น SELECT DISTINCT sex
 FROM   human;
ORDER BY เรียงลำดับข้อมูล การจัดกลุ่มข้อมูล
เรียงลำดับจากมากไปน้อย (descending order)
เช่น SELECT *
 FROM   human
 ORDER BY name;
เรียงลำดับจากน้อยไปมาก (descending order)
เช่น SELECT *
 FROM   human
 ORDER BY name DESC;
ถ้าต้องการมากกว่าอันนึงก็ย่อมได้
เช่น SELECT *
 FROM   human
 ORDER BY name , sex DESC ;
แบบนี้จะจัดตามชื่อแบบ ascending ก่อนแล้วจะมาจัดเพศแบบ descending ทีหลัง
การคำนวณเกี่ยวกับวันที่
 ตัวแปร DATE เป็น string ที่มีการเก็บเป็นรูปแบบ YYYY-MM-DD ตัวแปรชนิด DATE สามารถนำมาเทียบค่ากันได้ในระดับ ASCII
CURDATE() จะเป็น function ที่ส่งค่าออกมาเป็นข้อมูลรูปแบบ DATE (YYYY-MM-DD)
YEAR(<ข้อมูลชนิดdate>) ส่งค่าออกมาเป็นข้อมูลรูปแบบของปี (YYYY)
MONTH(<ข้อมูลชนิดdate>) ส่งค่าออกมาเป็นข้อมูลรูปแบบของเดือน (MM)
DAY(<ข้อมูลชนิดdate>)  ส่งค่าออกมาเป็นข้อมูลรูปแบบของวัน (DD)
RIGHT(<ข้อมูลชนิดstring>, <จำนวนตัวเลข>) ส่งค่าออกมาจำนวนเท่ากับที่เราต้องการตัดออกมาจาก string นั้นๆ โดยเริ่มนับจากทางขวา
LEFT(<ข้อมูลชนิดstring>, <จำนวนตัวเลข>) ส่งค่าออกมาจำนวนเท่ากับที่เราต้องการตัดออกมาจาก string นั้นๆ โดยเริ่มนับจากทางซ้าย
ตัวอย่าง
ex1. ต้องการปีของวันปัจจุบัน  YEAR( CURDATE() )
ex2. ต้องการเดือนและวันของปัจจุบัน RIGHT( CURDATE(),5 )
 [5 ในที่นี้คือนับจากทางขวามือมา YYYY-MM-DD ก็จะได้ ​MM-DD มา]
การใช้ตัวแปร NULL ในเงื่อนไข
 ใช้คำสั่ง xxx IS NOT NULL เช่นต้องการดูสิ่งมีชีิวิตที่ไม่มีเพศ
 SELECT *
 FROM   human
 WHERE sex IS NOT NULL;
การตั้งชื่อเป็นชื่อที่เราต้องการ
 หมายถึงเวลา select บางทีคนทั่วไปอาจจะไม่เข้าใจว่าคืออะไร เราจึงมีคำสั่ง AS ช่วย เช่น
 SELECT name AS ‘NAME-SURNAME’
 FROM   human;
COUNT การนับจำนวน + GROUP BY การจัดกลุ่ม
 COUNT ใช้ในการนับจำนวนของตารางต่างๆ จะใช้คู่กับ GROUP BY ได้ดีเพราะจะช่วยในการจัดกลุ่มชุดข้อมูลได้ดีขึ้น
 SELECT <อื่นๆ> COUNT(*)
 FROM <ชื่อtable>
 WHERE <เงื่อนไข>
 GROUP BY <จัดกลุ่มโดยใช้อะไร>
เช่นต้องการนับจำนวนคนในแต่ละเพศ
 SELECT sex , COUNT(*)
 FROM   human
 GROUP BY sex;
SET การกำหนดตัวแปร
 SET @<ชื่อตัวแปร> = <ค่า>
 เช่น  SET @A1 = ‘Natsu Sencho’;
  SET @A2 = ‘1999-09-09’;
การใช้คำสั่ง JOIN
 การ JOIN คือการนำตารางที่มีความสัมพันธ์ของข้อมูลในแต่ละฟิลมาเชื่อมโยงกัน
 การ JOIN มี 2 แบบคือ
 1. INNER JOIN
 2. OUTER JOIN  |--- LEFT JOIN
    |--- RIGHT JOIN
INNER JOIN
 คือการ JOIN โดยไม่สนใจค่า NULL จะดูเพียงตัวที่เหมือนกันเท่านั้น
สมมติมีตาราง 2 อันชื่อ Ltable และ ​Rtable นำมา JOIN กันโดยมีข้อมูลที่ซ้ำกันคือ id
 -- JOIN โดยใช้ ON
 SELECT *
 FROM Ltable INNER JOIN Rtable ON Ltable.id = Rtable.id;
 -- หรือ JOIN โดยใช้ USING
 SELECT *
 FROM Ltable INNER JOIN Rtable USING (id);

กรณีพิเศษที่ตัวแปรหรือชื่อ Column ซ้ำกันก็สามาใช้ NATURAL JOIN ได้ อย่างในที่นี้เรารุ้ว่า id นั้นซ้ำกันเราก็ไม่ต้องใส่เงื่อนไขใดๆ แต่ใช้ Natural Join เข้ามาช่วยโดย
 SELECT *
 FROM Ltable NATURAL JOIN Rtable;
OUTER JOIN
LEFT JOIN
 คือการ JOIN โดยใช้ตัวทางซ้ายเป็นหลักคือ จะแสดงตัวทางซ้ายทุกตัวและนำข้อมูลขวามาเชื่อม
 SELECT *
 FROM Ltable LEFT JOIN Rtable ON Ltable.id = Rtable.id;
RIGHT JOIN
 คือการ JOIN โดยใช้ตัวทางขวาเป็นหลักคือ จะแสดงตัวทางขวาทุกตัวและนำข้อมูลขวามาเชื่อม
 SELECT *
 FROM Ltable RIGHT JOIN Rtable ON Ltable.id = Rtable.id;
นอกจากวิธีการ JOIN ยังมีวิธีที่เรียกว่า Cartesian Product ซึ่งไม่ได้อทิบายไว้ในทีนี้
ถ้ามีโอกาศจะนั่งทำตัวอย่างให้ดูให้เห็นได้ชัดกว่านี้นะครับ แต่ผมสรุปแบบคร่าวๆ ให้พอดู
รวมคำศัพท์คำสั่งที่เจอเพจนี้
CREATE  สร้างdatabase, table
INSERT  ใส่ข้อมูล
UPDATE  อัพเดตข้อมูล
SELECT  ต้องการจะดูอะไรบ้าง
FROM    จากที่ไหน
WHERE   เงื่อนไขอย่างไร
COUNT(*)  นับจำนวนของฟิลข้อมูล
GROUP BY  จัดกลุ่มข้อมูล
ORDER BY  เรียงลำดับข้อมูลโดย
JOIN    เชื่อมตาราง
DISTINCT  ตัดตัวซ้ำ
AS      ใช้คำใหม่ให้กระทัดรัดขึ้น
SET     กำหนดตัวแปร


CURDATE() วันที่ปัจจุบัน
YEAR()  ปี
MONTH() เดือน
DAY()   วัน
RIGHT() ตัดคำจากทางขวา
LEFT()  ตัดคำจากทางซ้าย
*       ทั้งหมด

ที่มา : natsusencho.blogspot.com/2012/08/sql-language.html

Tutorial web

Tutorial web 
windphp.com
www.w3schools.com Tutorial Web
www.ninenik.com
www.com5dow.com

www.widebase.net
www.sqlcourse.com
www.thaicreate.com
www.siamcoding.comww.m
https://support.office.com

http://www.hellomyweb.com/


ฟังก์ชัน PHP

ฟังก์ชันใน PHP
ฟังก์ชันในโปรแกรมส่วนใหญ่ได้รับการเรียกคำสั่งเพื่อทำงานอย่างเดียว สิ่งนี้ทำให้คำสั่งอ่านได้ง่ายและยอมให้ใช้คำสั่งใหม่แต่ละครั้งเมื่อต้องการทำงานเดียวกัน
ฟังก์ชันเป็นโมดูลเก็บคำสั่งที่กำหนดการเรียกอินเตอร์เฟซ ทำงานเดียวกัน และตัวเลือกส่งออกค่าจากการเรียกฟังก์ชัน คำสั่งต่อไปเป็นการเรียกฟังก์ชันอย่างง่าย
my_function ();
คำสั่งเรียกฟังก์ชันชื่อ my_function ที่ไม่ต้องการพารามิเตอร์ และไม่สนใจค่าที่อาจจะส่งออกโดยฟังก์ชันนี้
ฟังก์ชันจำนวนมากได้รับการเรียกด้วยวิธีนี้ เช่น ฟังก์ชัน phpinfo () สำหรับแสดงเวอร์ชันติดตั้งของ PHP สารสนเทศเกี่ยวกับ PHP การตั้งค่าแม่ข่ายเว็บ ค่าต่างๆ ของ PHP และตัวแปร ฟังก์ชันนี้ไม่ใช้พารามิเตอร์และโดยทั่วไปไม่สนใจค่าส่งออก ดังนั้นการเรียก phpinfo () จะประกอบขึ้นดังนี้
phpinfo ();
การกำหนดฟังก์ชันและการเรียกฟังก์ชัน
การประกาศฟังก์ชันเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ด function กำหนดชื่อฟังก์ชัน พารามิเตอร์ที่ต้องการ และเก็บคำสั่งที่จะประมวลผลแต่ละครั้งเมื่อเรียกฟังก์ชันนี้
<?php
function function_name(parameter1,…)
{
ชุดคำสั่ง
}
?>
ชุดคำสั่งต้องเริ่มต้นและสิ้นสุดในวงเล็บปีกกา ({ }) ตัวอย่างฟังก์ชัน my_function
<?php
function my_function()
{
$mystring =<<<BODYSTRING
my function ได้รับการเรียก
BODYSTRING;
echo $mystring;
}
?>
การประกาศฟังก์ชันนี้ เริ่มต้นด้วย function ดังนั้นผู้อ่านและตัวกระจาย PHP ทราบว่าต่อไปเป็นฟังก์ชันกำหนดเอง ชื่อฟังก์ชันคือ my_function การเรียกฟังก์ชันนี้ใช้ประโยคคำสั่งนี้
my_function ();
การเรียกฟังก์ชันนี้จะให้ผลลัพธ์เป็นข้อความ "my function ได้รับการเรียก " บน browser
การตั้งชื่อฟังก์ชัน
สิ่งสำคัญมากในการพิจารณาเมื่อตั้งชื่อฟังก์ชันคือชื่อต้องสั้นแต่มีความหมาย ถ้าฟังก์ชันสร้างส่วนตัวของเพจควรตั้งชื่อเป็น pageheader () หรือ page_header ()
ข้อจำกัดในการตั้งชื่อคือ
ฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกับฟังก์ชันที่มีอยู่
ชื่อฟังก์ชันสามารถมีได้เพียงตัวอักษรตัวเลข และ underscore
ชื่อฟังก์ชันไม่สามารถเริ่มต้นด้วยตัวเลข
หลายภาษายอมให้ใช้ชื่อฟังก์ชันได้อีก ส่วนการทำงานนี้เรียกว่า function overload อย่างไรก็ตาม PHP ไม่สนับสนุน function overload ดังนั้นฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกันกับฟังก์ชันภายใน หรือฟังก์ชันกำหนดเองที่มีอยู่
หมายเหตุ ถึงแม้ว่าทุกสคริปต์ PHP รู้จักฟังก์ชันภายในทั้งหมด ฟังก์ชันกำหนดเองอยู่เฉพาะในสคริปต์ที่ประกาศสิ่งนี้หมายความว่า ชื่อฟังก์ชันสามารถใช้ในคนละไฟล์แต่อาจจะไปสู่ความสับสน และควรหลีกเลียง
ชื่อฟังก์ชันต่อไปนี้ถูกต้อง
name ()
name2 ()
name_three ()
_namefour ()
ชื่อไม่ถูกต้อง
5name ()
Name-six ()
fopen ()
การเรียกฟังก์ชันไม่มีผลจากชนิดตัวพิมพ์ ดังนั้นการเรียก function_name (), Function_Name() หรือ FUNCTION_NAME() สามารถทำได้และมีผลลัพธ์เหมือนกัน แต่แบบแผนการกำหนดชื่อฟังก์ชันใน PHP ให้ใช้ตัวพิมพ์เล็ก
ชื่อฟังก์ชันแตกต่างจากชื่อตัวแปร โดยชื่อตัวแปรเป็นชนิดตัวพิมพ์มีผล ดังนั้น $Name และ $name เป็น 2 ตัวแปร แต่ Name () และ name () เป็นฟังก์ชันเดียวกัน
การหยุดประมวลผลภายในฟังก์ชัน
คีย์เวิร์ด return หยุดการประมวลผลฟังก์ชัน ฟังก์ชันสิ้นสุดได้เพราะประโยคคำสั่งทั้งหมดได้รับการประมวลผล หรือ ใช้คีย์เวิร์ด return การประมวลผลกลับไปยังประโยคคำสั่งต่อจากการเรียกฟังก์ชัน
<?php
function division($x, $y)
{
if ($y == 0 || !isset($y))
{
echo " ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า" ;
return;
}
$result = $x / $y;
echo $result;
}
?>
ถ้าประโยคคำสั่ง return ได้รับการประมวลผล บรรทัดคำสั่งต่อไปในฟังก์ชันจะถูกข้ามไป และกลับไปยังผู้เรียกฟังก์ชันนี้ ในฟังก์ชันนี้ ถ้า y เป็น 0 จะหยุดการประมวลผล ถ้า y ไม่เท่ากับ 0 จะคำนวณผลหาร
สมมติป้อนค่าเป็น
x = 4, y = 0
x = 4
x = 4, y = 2
ผลลัพธ์ของคำสั่ง คือ
x = 4, y = 0 ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = 2 ผลลัพธ์ 2
การเรียกฟังก์ชัน
เมื่อฟังก์ชันได้รับการประกาศหรือสร้างขึ้นแล้ว การเรียกฟังก์ชันสามารถเรียกมาจากที่ใดๆ ภายในสคริปต์ หรือ จากไฟล์ที่มีการรวมด้วยประโยคคำสั่ง include() หรือ require()
ตัวอย่าง ฟังก์ชัน show_message() เก็บอยู่ในไฟล์ fn_ 03 _keeper.php ส่วนผู้เรียกอยู่ในสคริปต์ fn_ 03 _caller.php
<?php
include("fn_ 03 _keeper.php");
show_message();
?>
พารามิเตอร์
ตามปกติฟังก์ชันส่วนใหญ่ต้องการรับสารสนเทศจากผู้เรียกสำหรับการประมวลผล โดยทั่วไปเรียกว่า พารามิเตอร์
ไวยากรณ์พื้นฐาน
การกำหนดฟังก์ให้รับพารามิเตอร์ส่งผ่านโดยการวางข้อมูล ชื่อตัวแปรที่เก็บข้อมูลภายในวงเล็บหลังชื่อฟังก์ชัน การเรียกฟังก์ชันที่ประกอบด้วยพารามิเตอร์เขียนดังนี้
<?php
function show_parameter($param1, $param2, $param3)
{
echo <<<PARAM
รายการพารามิเตอร์ <br/>
param1: $param1 <br/>
param2: $param2 <br/>
param3: $param3 <br/>
PARAM;
}
?>
พารามิเตอร์ที่ส่งไปยังฟังก์ชันแยกกันเครื่องหมายจุลภาคภายในวงเล็บ โดยสามารถส่งเป็นนิพจน์สำหรับแต่ละพารามิเตอร์ด้วย ตัวแปร ค่าคงที่ ผลลัพธ์จากการคำนวณ รวมถึงการเรียกฟังก์ชัน
scope ของพารามิเตอร์จำกัดภายในฟังก์ชัน ถ้าชื่อตัวแปรเหมือนกับตัวแปรใน scope ระดับอื่น พารามิเตอร์นี้ "ระบุ" เป็นตัวแปรภายในที่ไม่มีผลกับตัวแปรภายนอกฟังก์ชัน
การส่งผ่านโดยค่า(By Value)
ตามปกติการส่งผ่านพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันเป็นการส่งผ่านค่า การเปลี่ยนแปลงจะจำกัดภายในเฉพาะภายในฟังก์ชัน
ตัวอย่างฟังก์ชัน new_value () ที่ยอมให้เพิ่มค่า อาจจะเขียนคำสั่งดังนี้
<?php
function new_value($value, $increment= 1)
{
$value = $value + $increment;
}
$value = 10 ;
new_value($value);
echo "$value<br/>\n";
?>
คำสั่งนี้ใช้ไม่ได้ ผลลัพธ์จะเป็น "10" ค่าใหม่ของ $value ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
สิ่งนี้เป็นเพราะกฎ scope คำสั่งนี้สร้างตัวแปรเรียกว่า $value เป็น 10 เมื่อเรียกฟังก์ชัน new_value () ตัวแปร $value ในฟังก์ชันได้รับการสร้างเมื่อเรียกฟังก์ชัน ค่า 1 ได้รับการเพิ่มให้กับตัวแปร ดังนั้นค่าของ $value คือ 11 ภายในฟังก์ชัน จนกระทั่งสิ้นสุดฟังก์ชัน แล้วกลับไปยังคำสั่งที่เรียกภายในคำสั่งนี้ ตัวแปร $value เป็นอีกตัวแปร global scope และไม่มีการเปลี่ยนแปลง
การส่งผ่านโดยการอ้างอิง (By Reference)
ตามตัวอย่างฟังก์ชัน new_value ถ้าต้องการให้ฟังก์ชันเปลี่ยนแปลงค่าได้ มีวิธีหนึ่งในการแก้ไขคือ ประกาศ $value ในฟังก์ชันเป็น global แต่หมายความว่าในการใช้ฟังก์ชันนี้ ตัวแปรที่ต้องการเพิ่มค่าต้องตั้งชื่อเป็น $value แต่มีวิธีดีกว่าคือ ใช้การส่งผ่านโดยการอ้างอิง
การอ้างอิงไปตัวแปรต้นทางแทนที่มีค่าของตัวเอง การปรับปรุงไปยังการอ้างอิงจะมีผลกับตัวแปรต้นทางด้วย
การระบุพารามิเตอร์ที่ใช้การส่งผ่านโดยการอ้างอิงให้วาง ampersand (&) หน้าชื่อพารามิเตอร์ในข้อกำหนดฟังก์ชัน
ตัวอย่าง new_value () ได้รับปรับปรุงให้มี 1 พารามิเตอร์ส่งผ่านโดยการอ้างอิงและทำงานได้อย่างถูกต้อง
<?php
function new_value(&$value, $increment=1)
{
$value = $value + $increment;
}
?>
คำสั่งทดสอบฟังก์ชัน ให้พิมพ์ 10 ก่อนการเรียก increment () และ 11 ภายหลัง
ในการส่งค่าโดยการอ้างอิงต้องส่งเป็นตัวแปรไม่สามารถกำหนดค่าคงที่โดยตรง
จำนวนตัวแปรของพารามิเตอร์
การส่งผ่านพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันนั้น การควบคุมของ PHP ได้กำหนดฟังก์ชันจำนวนหนึ่งให้ยอมรับจำนวนตัวแปรของพารามิเตอร์ ได้แก่ func_num_args, func_get_arg และ func_get_args
func_num_args() บอกจำนวนพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันที่เรียก func_get_arg() แสดงค่าของพารามิเตอร์ตามดัชนี และ func_get_args() ส่งออก array ของพารามิเตอร์
<?php
function show_pass_value()
{
$idx = count(func_get_args());
echo " จำนวนพารามิเตอร์ $idx <br/>\n";
if ($idx > 0)
    echo ">> ใช้ฟังก์ชัน func_get_arg<br/>\n";
for ($i = 0 ; $i < $idx; $i++)
{
echo " พารามิเตอร์ที่ $i ค่า: ". func_get_arg($i)."<br/>\n";
}
if ($idx > 0)
    echo ">> ใช้ฟังก์ชัน func_get_args<br/>\n";
$params = func_get_args();
foreach ($params as $index => $val)
{
echo " พารามิเตอร์ที่ $index ค่า: $val<br/>\n";
}
echo " *********<br/>\n";
}
$x = 4 ;
show_pass_value("one", "two", 3 , $x, " ห้า" , " หก") ;
show_pass_value();
?>
ผลลัพธ์
จำนวนพารามิเตอร์ 6
>> ใช้ฟังก์ชัน func_get_arg
พารามิเตอร์ที่ 0 ค่า: one
พารามิเตอร์ที่ 1 ค่า: two
พารามิเตอร์ที่ 2 ค่า: 3
พารามิเตอร์ที่ 3 ค่า: 4
พารามิเตอร์ที่ 4 ค่า: ห้า
พารามิเตอร์ที่ 5 ค่า: หก
>> ใช้ฟังก์ชัน func_get_args
พารามิเตอร์ที่ 0 ค่า: one
พารามิเตอร์ที่ 1 ค่า: two
พารามิเตอร์ที่ 2 ค่า: 3
พารามิเตอร์ที่ 3 ค่า: 4
พารามิเตอร์ที่ 4 ค่า: ห้า
พารามิเตอร์ที่ 5 ค่า: หก
*********
จำนวนพารามิเตอร์ 0
*********
Scope
เมื่อต้องการใช้ตัวแปรภายในไฟล์ที่รวม ต้องมีการประกาศตัวแปรเหล่านั้นก่อนประโยคคำสั่ง require () หรือ include () แต่เมื่อใช้ฟังก์ชันจะเป็นการส่งผ่านตัวแปรเชิงประจักษ์เหล่านั้นไปยังฟังก์ชัน บางส่วนเป็นเพราะไม่มีกลไกส่งผ่านตัวแปรเชิงประจักษ์ไปยังไฟล์ที่รวม และบางส่วนเป็นเพราะ scope ของตัวแปรของฟังก์ชันแตกต่างกัน
การควบคุม scope ของตัวแปรเป็นการทำให้ตัวแปรมองเห็นได้ ใน PHP มีกฎตั้งค่า scope ดังนี้
การประกาศตัวแปรภายในฟังก์ชันอยู่ใน scope จากประโยคคำสั่งซึ่งตัวแปรให้รับการประกาศภายในวงเล็บปีกกา สิ่งนี้เรียกว่า function scope ตัวแปรเรียกว่า local variable
การประกาศตัวแปรภายนอกฟังก์ชันอยู่ใน scope จากประโยคคำสั่งซึ่งตัวแปรได้รับการประกาศที่สิ้นสุดแต่ไม่ใช้ภายในฟังก์ชัน สิ่งนี้เรียกว่า global scope ตัวแปรเรียกว่า global variable
การใช้ประโยคคำสั่ง require () และ include () ไม่มีผลกับ scope ถ้าประโยคคำสั่งได้รับการใช้ภายในฟังก์ชัน ประยุกต์ด้วย function scope ถ้าไม่ได้อยู่ภายในฟังก์ชัน ประยุกต์ด้วย global scope
คีย์เวิร์ด global สามารถระบุได้เองเพื่อกำหนดหรือใช้ตัวแปรภายในฟังก์ชันให้มี scope เป็น global
ตัวแปร สามารถลบโดยการเรียก unset ($variable_name) และตัวแปรที่ unset จะไม่มี scope
ตัวแปรระดับ superglobal สามารถเข้าถึงได้ทุกส่วนในสคริปต์
ตัวแปรระดับฟังก์ชัน
ตัวแปรระดับฟังก์ชันหรือ local variable เป็นการประกาศเพื่อใช้เฉพาะภายในฟังก์ชัน ไม่สามารถเรียกจากภายนอกฟังก์ชันได้
<?php
$newline = <<<NLSTRING
<br/>\n
NLSTRING;
$var_global = 10 ;
function show_value()
{
global $newline;
$var_local= 75 ;
echo "\$var_local 1: $var_local";
echo $newline;
}
show_value();
echo "\$var_global : $var_global";
echo $newline;
echo "\$var_local 2: $var_local";
echo $newline;
?>
ผลลัพธ์
$var_global 1 :
$var_local 1: 75
$var_global 2: 10
$var_local 2:
ตามตัวอย่างนี้ ตัวแปรระดับฟังก์ชัน $var_local ไม่สามารถแสดงผลในการพิมพ์ภายนอกฟังก์ชัน show_value() และ $var_global ที่เป็นตัวแปรระดับ global ไม่สามารถแสดงผลภายใน show_value() เพราะมี scope ต่างกัน
ตัวแปรระดับ global
ถ้าต้องการนำตัวแปรระดับ global มาใช้ภายในฟังก์ชันต้องประกาศด้วยคีย์เวิร์ด global ก่อนประโยคคำสั่งที่ใช้ตัวแปรนั้น ตัวอย่าง ฟังก์ชัน show_value() ใช้ $newline จากภายนอกฟังก์ชัน
global $newline;
ตัวแปรสถิตย์
การประกาศตัวแปรสถิตย์ใช้ คีย์เวิร์ด static เมื่อมีการเรียกใช้ฟังก์ชัน โปรแกรมจะกำหนดค่าตัวแปรตามที่ระบุเพียงครั้งเดียว ถ้าเรียกซ้ำอย่างต่อเนื่องค่านี้จะเปลี่ยนแปลงตามการคำนวณ
<?php
function increment()
{
static $increase = 5 ;
$increase++;
echo $increase."<br/>\n";
}
$end = 5 ;
for ($i = 1 ; $i < $end; $i++)
    increment();
?>
ผลลัพธ์
6
7
8
9
ค่าของตัวแปรสถิตย์ได้รับการตั้งทุกครั้งเมื่อเรียกใช้ในครั้งต่อไป
การส่งออกค่าจากฟังก์ชัน
การส่งค่าออกจากฟังก์ชันใช้คีย์เวิร์ด return เช่นเดียวกับการออกจากฟังก์ชันได้ ถ้าไม่มีการระบุส่งออกฟังก์ชันจะส่งค่า NULL
ตัวอย่าง ฟังก์ชัน get_larger () สาธิตการส่งออกค่า
<?
function get_larger($x=NULL, $y=NULL)
{
if (!isset($x) || !isset($y))
    return " ไม่มีการส่งค่า" ;
if ($x > $y)
    return $x;
else if ($x < $y)
    return $y;
else
    return " ค่าเท่ากัน" ;
}
$sends = array();
$sends[0] = array('x' =>5);
$sends[1] = array('x' =>9, 'y'=>3);
$sends[2] = array('x' =>5, 'y'=>8);
$sends[3] = array('x' =>4, 'y'=>4);
foreach ($sends as $send)
{
echo "x = ".$send['x']." y = ".$send['y']." : ค่า - > "
.get_larger($send['x'], $send['y']);
echo "<br/>\n";
}
?>
ผลลัพธ์
x = 5 y = : ค่า - > ไม่มีการส่งค่า
x = 9 y = 3 : ค่า - > 9
x = 5 y = 8 : ค่า - > 8
x = 4 y = 4 : ค่า - > ค่าเท่ากัน
ฟังก์ชันที่ทำงานอาจเดียว แต่ไม่จำเป็นต้องส่งออกค่า มักจะส่งออก TRUE หรือ FALSE เพื่อระบุความสำเร็จหรือล้มเหลว ค่า TRUE หรือ FALSE สามารถได้รับการแสดงแทนด้วย 1 หรือ 0
Recursion
recursion ได้รับการสนับสนุนใน PHP ฟังก์ชันชนิดนี้เป็นการเรียกตัวเองและเป็นประโยชน์กับการบังคับโครงสร้างข้อมูลไดนามิคส์ เช่น รายการเชื่อมโยงและโครงสร้างต้นไม้ (tree)
โปรแกรมประยุกต์เว็บจำนวนไม่มากต้องการโครงสร้างข้อมูลซับซ้อนมากและจำกัดการใช้ เนื่องจาก recursion ช้ากว่าและใช้หน่วยความจำมากกว่าการทำงานวนรอบ ดังนั้นควรเลือกการทำงานแบบวนรอบปกติ ถ้าเป็นไปได้
ตัวอย่างการประยุกต์แบบย้อนกลับตัวอักษร
<?php
function word_reverse_r($str)
{
if (strlen($str)>0)
    word_reverse_r(substr($str, 1));
echo substr($str, 0, 1);
return;
}
function word_reverse_i($str)
{
for ($i=1; $i<=strlen($str); $i++)
{
echo substr($str, -$i, 1);
}
return;
}
?>
รายการคำสั่งของ 2 ฟังก์ชันนี้จะพิมพ์ข้อความย้อนกลับ ฟังก์ชัน word_reverse_r เป็น recursion ฟังก์ชัน word_reverse_i เป็นการวนรอบ
ฟังก์ชัน word_reverse_r ใช้ข้อความเป็นพารามิเตอร์ เมื่อมีการเรียกฟังก์ชันนี้ จะเกิดการเรียกตัวเองแต่ละครั้งส่งผ่านตัวอักษรที่ 2 ไปถึงตัวอักษรสุดท้าย
การเรียกฟังก์ชันแต่ละครั้งจะทำสำเนาใหม่ของคำสั่งในหน่วยความจำของแม่ข่าย แต่ด้วยพารามิเตอร์ต่างกัน ดังนั้นจึงเหมือนกับการเรียกคนละฟังก์ชัน



ที่มา : http://www.widebase.net/internet/php/phpbasic/phpbasic0602.shtml